วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Guide Me Please

    ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์

    กลับมาพบกันใหม่อีกครั้งกับบล็อกให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศก์นะคะ หลังจากที่บล็อกเกี่ยวกับมัคคุเทศก์คราวที่แล้วที่เราพูดถึงเรื่องของเทคนิคการนำทัวร์ที่ดีของมัคคุเทศก์ มาคราวนี้นะคะเราจะมาพูดถึงเรื่องการเตรียมตัวก่อนการทำงานของมัคคุเทศก์กันค่ะ และเพื่อให้ไม่เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลย💕

     มัคคุเทศก์นั้นเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในฐานะเป็นผู้เชื่อมโยงความเข้าใจอันดีระหว่างนักท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวและยังมีหน้าที่ในการดูแลนักท่องเที่ยวระหว่างปฏิบัติหน้าที่ด้วย  ดังนั้นมัคคุเทศก์จึงควรรู้จักบทบาทและหน้าที่ที่ตนต้องปฏิบัติและเตรียมตัวในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความเรียบร้อยและความประทับใจจากนักท่องเที่ยวได้อย่างดีที่สุด

   👉 1.ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติหน้าที่👈

1.1 ศึกษาหาความรู้ในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอเพื่อเท่าทันเหตุการณ์

1.2 ศึกษากิจการของบริษัทนำเที่ยว เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการนำเที่ยวและแก้ไข้ปัญหาเฉพาะหน้าแทนบริษัทนำเที่ยวการรู้จักบริษัทกิจการนำเที่ยวจะเป็นการดีหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเราสามารถแก้ไข้ปัญหาให้ตรงจุด

1.3 สร้างความสัมพันธ์อันดีกับบริษัทนำเที่ยวที่ตนสังกัดอยู่และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นผู้สร้าชื่อเสียงและคอยโฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้กับบริษัทนำเที่ยวที่ตนสังกัดให้นักท่องเที่ยวทราบการมีความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องอย่างโรงแรม ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้าที่ระลึก บริษัทรถ บริษัทนำเที่ยวอื่น ๆ นั้นเราจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและนักท่องเที่ยวเอาไว้ได้ไม่ให้ถูกเอาเปรียบ

   👉2. การรับมอบหมายงานจากบริษัทนำเที่ยว👈

    - โดยปกติแผนกปฏิบัติการ (Operation) ของบริษัทนำเที่ยวจะเป็นผู้พิจารณาแต่มัคคุเทศก์ที่มีความมั่นใจว่ามีประสบการณ์ก็สามารถเสนอตัวได้

    - สำหรับข้อมูลต่าง ๆ มัคคุเทศก์จำเป็นต้องรับทราบและเข้าใจให้ถี่ถ้วนเมื่อได้รับมอบหมายจากบริษัทและไม่ควรมาถามรายละเอียดอีกและรายละเอียดที่ได้รับจากบริษัทก็มี ดังนี้

    👍2.1 การรับมอบหมายจากบริษัทนำเที่ยว

    - รายละเอียดของใบงาน (Job Order or Tour Order)

    - จำนวนและข้อมูลส่วนตัวนักท่องเที่ยว

    - รายการนำเที่ยวฉบับสมบูรณ์ เช่น วันและเวลาในการเดินทาง ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางในแต่ละที่ สถานที่พักแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวและร้านขายของที่ระลึก

    - รายละเอียดของการชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระหว่างการนำเที่ยว

    - เอกสารและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

    - นโยบายของบริษัทในกรณีที่เกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ที่ผิดปกติขึ้น

    3. การตรวจสอบเอกสาร การจัดเตรียมอุปกรณ์และการเตรียมตัวปฏิบัติงาน

        สำหรับการนำเที่ยวออกนอกประเทศ (Outbound Tour) จำเป็นต้องตรวจสอบเอกสารเดินทางเพิ่มเติม ดังนี้

      -  บัตรโดยสารเครื่องบินของนักท่องเที่ยว

      - แบบฟอร์มการเข้า-ออกประเทศ (Immigration Form) และแบบฟอร์มการแจ้งรายการสิ่งของต่อศุลกากร (Custom Declaration Form) ของประเทศที่จะเดินทางไป

      - หนังสือเดินทาง Passport ของนักท่องเที่ยว

    3.1 การจัดเตรียมอุปกรณ์นำเที่ยว โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังต่อไปนี้

      -  ป้ายชื่อหรือสติกเกอร์ติดกระเป๋า (Tag) สำหรับติดกระเป๋าของนักท่องเที่ยวหรือริบบิ้นติดกระเป๋าสีสดใสผูกติดไว้ที่กระเป๋านักท่องเที่ยว

       ป้ายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับให้นักท่องเที่ยวติดตัว

      - สิ่งของกระจุกกระจิกสำหรับการให้บริการและอำนวยความสะดวกต่อนักท่องเที่ยว เช่น กระติกน้ำ แก้วน้ำเสิร์ฟน้ำ เครื่องดื่มต่าง ๆ หรือถุงขยะ ผ้าเย็น กระดาษชำระ เป็นต้น

      - ยาสามัญประจำบ้านทั่วไป เช่น ยาหม่อง ยาแก้ปวดศีรษะ ปวดท้อง ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น รวมถึงของใช้ส่วนตัวอย่าง เช่น ด้าย เข็ม อุปกรณ์หลาย ๆ อย่างถึงแม้บางโรงแรมหรือในแหล่งที่ไปจะมีให้หรือหาได้ง่าย มัคคุเทศก์ก็ควรเตรียมไปเองด้วยเผื่อฉุกเฉินระหว่างทาง

      - อาหารว่างอย่างของขบเคี้ยวก็ควรเตรียมเอาไว้เผื่อลูกทัวร์หิวขณะเดินทาง

      - เตรียมอุปกรณ์สันทนาการเกมต่าง ๆ และของรางวัลเพื่อเตรียมแจก

    3.2 การเตรียมตัวปฏิบัติงาน

    -  การเตรียมตัวด้านข้อมูล ให้เตรียมตัวการประสานงานไว้ให้ดีโดยเแพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสถานที่ที่จะไป เช่น กองอุทยานแห่งชาติ ป่าไม้ ติดต่อที่พักแรมและการนำชม,กรมศิลปากร ก็จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์, กรมทางหลวง ตำรวจการท่องเที่ยว บริษัทประกันภัย

    3.3 การเตรียมตัวเองของมัคคุเทศก์

    -  ในด้านความเป็นส่วนตัว การเตรียมตัวของมัคคุเทศก์ คสรเตรียมเสื้อผ้าให้พอใช้และเหมาะสมกับสถานที่ที่ไป เครื่องแต่งกายต้องสะอาด สุภาพ ควรนำนาฬิกาปลุกติดตัวไปด้วยเพื่อเอาไว้ตั้งเวลาในการเตรียมความพร้อม

    - มัคคุเทสก์ควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนออกปกิบัติงานและเตรียมจิตใจให้พร้อมที่จะเผชิญกับงานข้างหน้า

    - เตรียมค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้พร้อมเพราะบางครั้งอาจมีสาเหตุจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเกินกว่าที่บริษัทกำหนด

    จากที่กล่าวไปนั้นล้วนเป็นสิ่งที่มัคคุเมศก์ที่ดีควรมีและควรรู้ทั้งสิ้นเพราะจะช่วยให้เกิดการบริการที่ดี เพราะในปัจจุบันการแข่งขันมีสูงมาก การแข่งขันในด้านบริการจึงเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้ทั่วเกิดการได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการกลับมาใช้บริการอีกไม่รู้จบ


อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.elfhs.ssru.ac.th/chantouch_wa/pluginfile.php/440/.สืบค้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563.

    

    


    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น