วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การสำรวจความรู้เกี่ยวกับเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ในไทย

รูปจากhttps://pantip.com/topic/35844489
   
          การรับรู้เกี่ยวกับเชียงตุงของคนไทยนั้นอาจจะมีอยู่ไม่มากนักหลายคนอาจจะรู้จักเชียงตุงและเคยได้ยินเกี่ยวกับเชียงตุงมาบ้างผ่านรายการท่องเที่ยวตามโทรทัศน์และ Vlog ต่างๆของเหล่า youtuber บ้างแต่ถ้าหากผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเชียงตุงในมิติอื่นๆที่มากขึ้นบล็อกนี้จะมาแนะนำงานเขียนเกี่ยวกับเชียงตุงที่ควรอ่านและศึกษาแก่ผู้ที่สนใจมากแนะนำกัน       
       ก่อนที่จะแนะนำงานเขียนที่เกี่ยวกับเชียงตุงนั้นเรามารู้จักกับประวัติของเมืองเชียงตุงกันสักเล็กน้อย  เชียงตุง  (Keng Tung)   เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน รัฐฉาน ประเทศ เมียนมาร์ เป็นเมืองของชาวไทเขินและชาวไทใหญ่ โดยชาวไทยใหญ่เรียกเมืองแห่งนี้ว่า เก็งตุ๋ง (Keng Tung) ในอดีตเชียงตุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการค้าเพราะมีภูมิศาสตร์ที่เชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนาและล้านนาโดยอาณาเขตทิศเหนือติดกับสิบสองปันนา ในมณฑลยูนาน ทางใต้ติดกับล้านนา 
 ปัจจุบันเชียงตุงได้กลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญเมืองหนึ่งของประเทศพม่าเนื่องจากภายในเมืองเชียงตุงนั้น มีวัดเก่าแก่  โบราณสถาน  จนเชียงตุงได้รับการขนานนามว่าเป็น เมืองร้อยวัด เฉพาะในตัวเมืองมีวัดถึง 44 วัด แยกเป็นวัดไทเขิน 33 วัด วัดไทใหญ่ 10 วัด และวัดพม่า 1 วัด ในแต่ละวันจะมีชาวเชียงตุงและนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนชาวไทยไปกราบนมัสการอยู่เสมอ

           
รูปจาก https://www.rabbittoday.com/th-th/articles/guide-to-go/chiang-tung-myanmar
             ในการทำบล็อกเกี่ยวกับการสำรวจความรู้เกี่ยวกับเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ในไทยในครั้งนี้ได้ใช้วิธีศึกษาจากแหล่งข้อมูลประเภทวิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร วิดีทัศน์ เมื่อสืบค้นและได้อ่านบทความ วารสาร และวิทยานิพนธ์ต่างๆที่สืบค้นเกี่ยวกับเชียงตุงทำให้สามารถแบ่งงานเขียนต่างๆเกี่ยวกับเชียงตุงในไทยออกได้เป็น 4 ประเด็น 
ได้แก่ 1. ด้านประวัติศาสตร์  2. ด้านชาติพันธุ์   3.ด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะ  4. ด้านการท่องเที่ยว
             งานเขียนในประเด็นประวัติศาสตร์   ค้นพบเอกสารสัมมนาวิชาการ 3  ฉบับ
         1. การเมืองข้ามฝั่งโขง : ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสิบสองปันนา.รัตนพร เศรษฐกุล.(2558).
     เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสิบสองปันนาระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดสงครามเชียงตุงในทศวรรษที่ 1850 พบว่า ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างน่านกับสิบสองปันนาและระบบรัฐบรรณาการที่สับสนไม่แน่นอนเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สยามโจมตีเชียงตุงและต่อมาหน้าพยายามบังคับให้เชียงแข็งยอมรับอำนาจของสยาม สยามเองก็มีความต้องการที่จะขยายอำนาจเข้าไปสู่สิบสองปันนาและรัฐไทยอื่นๆเพื่อที่จะปกครองบ้านเมืองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงให้ได้โดยง่ายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวสยามจึงต้องยึดครองเชียงตุงและบ้านเล็กเมืองน้อยใกล้เคียงที่อยู่ภายใต้ระบบรัฐสองฝ่ายฟ้าหรือ 3 ฝ่ายฟ้าภายใต้การปกครองของพม่าจีนและเวียดนามให้ได้นั่นเต็มใจสนับสนุนนโยบายขยายอำนาจของสยามและเป็นตัวแทนของสยามในการก่อตั้งอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนเหล่านี้ทั้งคู่แบ่งปันผลประโยชน์จากการทำสงครามกล่าวคือน่านต้องการปกปักรักษาไพร่พลชาวลื้อที่ตนเองกว่าต้นกวาดต้อนมาเพราะกำลังคนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้มแข็งทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐ อำนาจทางการทหารของสยามทำให้อิทธิพลของหน้าในฐานะตัวแทนของสยามมีความเด่นชัดขึ้นหลังจากสยามยุติสงครามเชียงตุงน่านยังคงขยายอำนาจไปยังบ้านเมืองอีกฝั่งหนึ่งของน้ำโขงจนกระทั่งอังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาจัดการปักปันเขตแดนในปี 1893 การเมืองสองฝั่งโขงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดำเนิน ไป ภายใต้ระบบเครือญาติของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยสองฟากฝั่งแม่น้ำนี้ เป็นความสัมพันธ์ฉันบ้านพี่เมืองน้องทำให้หน้าจอขยายอำนาจมีคนเข้าไปสิบสองปันนาได้อย่างสะดวก
           2. ศึกเชียงตุง : การเปิดแนวรบเหนือสุดแดนสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.รัตนพร เศรษฐกุล.(มปป
            พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 ชี้สาเหตุของสงครามเชียงตุงเกิดจากการที่สยามต้องการช่วยเหลือเจ้านายสิบสองปันนาที่หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและเมืองหลวงภูคาซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองน่านพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าการจะยึดครองสิบสองปันนาได้จะต้องยึดครองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงโปรดให้เกณฑ์ทับหัวเมืองล้านนาไปตีเมืองเชียงตุงใน พ.ศ. 2392 การเน้น สาเหตุดังกล่าวซึ่งดูชัดเจนและตรงไปตรงมานั้นอาจจะเป็นการอำพรางความมุ่งหมายที่แท้จริงของสยามในการทำศึกเพราะเป็นการมองข้ามความสำคัญของเชียงตุงและสามารถโต้แย้งได้ว่าหากสยามต้องการสิบสองปันนาจริงก็สามารถยึดครองสิบสองปันนาจากเส้นทางอื่นและควบคุมโดยศูนย์อำนาจชายแดนอื่นๆของสยามได้โดยไม่ต้องยึดครองเชียงตุง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สยามขยายอำนาจออกไปกว้างขวาง ความร่วมมือของผู้นำบ้านเมืองรัฐชายขอบที่ยอมรับฐานะประเทศราชของสยามการยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุงเป็นการเปิดแนวรบที่อยู่เหนือสุดในสยามเคยทำการศึกครั้งนี้ไม่ธรรมดาเชียงตุงไม่ได้เป็นเพียงบันได หรือทางผ่านไปสิบสองปันนาอย่างที่เคยเข้าใจ เพราะถ้าหากศึกษาจากค้นพบว่าเชียงตุงไม่น่าจะขยายอำนาจไปครอบครองสิบสองปันนาเพราะสยามไม่อาจคาดหวังว่าจะได้อะไรจากสิบสองปันนาซึ่งอยู่ห่างไกลอีกทั้งยังมีสภาพการเมืองภายในที่วุ่นวายพร้อมกับสถานภาพการเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้า สยามคงไม่อยากจะหาเรื่องใส่ตัวไปเป็นฝ่ายฟ้าที่ 3 ในพื้นที่ห่างไกลเช่นนั้นเพราะฉะนั้นจึงต้องศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างบ้านเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะเห็นว่าศึกเชียงตุงเป็นเพียงภาพการเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ความขัดแย้งที่กว้างกว่าและรวมเอาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มากกว่าสยามพม่าล้านนาแล้วก็เชียงตุง
               3.   ศึกเชียงตุงในวรรณกรรมพม่า.สุเนตร ชุตินธรานนท์.(มปป)
              ในงานวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้ามินดง ซึ่งผู้เขียนก็คือ มหากวี อูโปงยะ (U Ponya) เป็นมหากวีที่เปรียบเทียบได้กับสุนทรภู่ของไทย มหากวีได้นิพนธ์งานไว้หลายชิ้นแต่ในกรณีของเชียงตุงงานที่อูโปงยะเขียนนั้นเป็นการนำสงครามในครั้งนั้นมาประมวลรวมเข้ากับเหตุการณ์ที่สำคัญอื่นๆโดยแต่งขึ้นในลักษณะวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้ามินดงโดยมีเหตุการณ์ที่ถูกนำมาแสดงเฉลิมพระเกียรติหลักๆเลย 3 เรื่องก็คือ ลำดับราชวงศ์ ศึกเชียงตุงครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกลาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและการสถาปนากรุงมัณฑะเลย์ขึ้นเป็นราชธานีใหม่ งานวรรณกรรมชิ้นนี้ภายหลังรู้จักกันในชื่อของ โยธยานัยโมโกง (Yodaya Naing Mowgun) โดยมีหลักฐานปรากฏถึงศึกเชียงตุง เดิมรู้จักกันในชื่อ เซงเมนัยโมโกง (Zinnme Naing Mowgun) หรือมหากาพย์ว่าด้วยการพ่ายแพ้ของเชียงใหม่ต่อมาวรรณกรรมชิ้นนี้  ถูกนำมาเผยแพร่ภายหลังและรู้จักกันในชื่อ โยธยานัยโมโกง ซึ่งแปลว่า โยธยาพ่าย ในหนังสือ โยธยานัยโมโกงเป็นหนังสือที่ว่าด้วยโยธยาพ่ายแพ้พม่าที่มีปรากฏด้วยกันของสงครามนั้นก็คือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ..2310 เป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้ามังระหรือที่พม่าเรียกว่า เซงพยูเชง ส่วนอีกเรื่องหนึ่งนั้นก็คือ ศึกเชียงตุง จะเห็นได้ว่าในขณะที่ทางฝ่ายไทยได้กล่าวถึงศึกเชียงตุงอย่างค่อนข้างจำกัดและไม่ให้ความสำคัญกับศึกครั้งนี้โดยเฉพาะศึกเชียงตุงแต่พม่ากลับให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับศึกครั้งนี้เป็นพิเศษถึงขนาดเขียนขึ้นเป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติโดยเฉพาะทั้งนี้ทั้งนั้นอาจเป็นเพราะว่าก่อนหน้าที่พม่าจะเกิดศึกเชียงตุงนั้น พม่าได้มีภัยสงครามกับอังกฤษอย่าง สงครามอังกฤษพม่าครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งสงครามครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.. 2367-2369 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและสงครามกับอังกฤษครั้งที่ 2 นั้นเกิดใน พ..2395 ผลมาจากการรบทั้ง 2 ครั้ง พม่าซึ่งจัดเป็นมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในภาคพื้นทวีปต้องพ่ายแพ้ให้กับจักรวรรดินิยมอังกฤษซึ่งเป็นผู้รุกราน เหตุการณ์ชี้ให้เห็นว่า ในศึกชียงตุงครั้งที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิทได้ยักทัพขึ้นไปครั้งแรกในปี พ.. 2396 นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่พม่าได้พ่ายแพ้ให้กับอังกฤษ จึงกล่าวได้ว่า พม่านั้นได้แพ้มาแล้วถึงสองครั้งเมื่อต้องมารบศึกเชียงตุงที่ไทยตีชิงไม่สำเร็จนั้นในมุมมองของพม่ามองว่าเป็นชัยชนะและเป็นชัยชนะที่พม่ามองว่าสามารถกู้หน้ากู้ตาของมหาอำนาจเก่าอย่างพม่าได้ เป็นชัยชนะที่ได้ขวัญกำลังใจจึงถูกนำมาให้ความสำคัญและนำมาสรรเสริญในงานวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ที่ย้ายราชธานีมาตั้งที่มัณฑะเลย์
          สรุป   จากการที่ได้มีการอ่านงานทบทวนงานเขียนด้านประวัติศาสตร์ของเชียงตุง พบว่า เป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์เชียงตุงในช่วงที่มีการทำศึกสงครามกับสยามโดยสงครามในครั้งนั้นบางครั้งจะมีการวิเคราะห์และตีความไปในหลากหลายแนวทางไม่ว่าจะเป็นการอ้างจากพระราชพงศาวดารในรัชกาลที่ 3 ว่าเหตุที่ทำให้เกิดสงครามเกิดจากการที่กรุงเทพฯต้องการเข้ายึดครองเชียงตุงเพื่อใช้ในการเป็นจุดยุทธศาสตร์หรือเหตุผลทางการเมืองอื่นๆรวมไปถึงการให้ความสำคัญของประวัติศาสตร์การทำศึกเชียงตุงของสองประเทศอย่างสยามและพม่านั้นล้วนแตกต่างกันในความเห็นพม่านั้นศึกเชียงตุงถือเป็นศึกที่พม่าถือว่าเป็นชัยชนะกู้หน้าให้พม่าถึงขนาดมีการไปเขียนเป็นวรรณกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่กษัตริย์พม่าในขณะเดียวกันสยามกลับไม่ค่อยให้ความสำคัญและกล่าวถึงศึกครั้งนี้มากนัก
               งานเขียนด้านชาติพันธุ์  ค้นพบ 1 งานวิจัย  3 วารสาร
               1. วัดและชุมชนไทใหญ่ในเมืองเชียงตุง.รักฎา  เมธีโภคพงษ์.(มปป).
                เป็นการศึกษาเรื่องวัดและชุมชนไทใหญ่ในเมืองเชียงตุงเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ของวัดและชุมชนชาวไทใหญ่กับไทเขินในเมืองเชียงตุงอันจะนำไปสู่การอยู่ความกันบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรม พบว่า ชาวไทใหญ่ได้อพยพเข้ามาในเชียงตุงอันเกิดจากการปกครองในรัฐจารีตและตกอยู่ภายใต้อาณานิคม แต่เมื่อสิ้นสุดยุคอาณานิคม พม่าและเชียงตุงกลับต้องเผชิญกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการกระจัดกระจายของผู้คนโดยเฉพาะชาวไทใหญ่ซึ่งบางส่วนเดินทางเข้ามาประเทศไทยบางส่วนก็ได้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เชียงตุงชาวไทใหญ่และชาวไทเขินได้อาศัยอยู่ร่วมกันจึงเกิดเป็นหมู่บ้านเล็กๆขึ้นมาในเมืองเชียงตุงโดยแต่ละหมู่บ้านมีวัดเป็นแกนกลางของสังคมจนกลายมาเป็นระดับตำบลเพราะในสังคมเมืองเชียงตุงรัฐบาลไม่อนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมใดๆนอกจากศาสนกิจ แกนนำทางสังคมของเชียงตุงจึงมาในรูปแบบของสถาบันสงฆ์ คณะกรรมการวัด และกลุ่มผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีบทบาทกับทางสังคมของเชียงตุงเป็นอย่างมาก เพราะ พิธีกรรมทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยคนมีความเชื่อในเรื่องของพระพุทธศาสนา ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาการร่วมกิจกรรมหรือทำพิธีกรรมทางศาสนาถือเป็นบุญกุศลอันแรงกล้าทำให้วัดและศาสนาเป็นสื่อกลางอันแรงกล้าของคนในสังคมเชียงตุงใช้เป็นตัวกลางในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมตลอดจนการ สืบทอดของ อัตลักษณ์คนไทใหญ่ไม่ให้ถูกกลืนในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมืองและความเป็นสมัยใหม่
       2.พลวัตของกาดเมืองเชียงตุงในบริบทการค้าและความเป็นชาติพันธุ์  (2561) ดุจฤดี คงสุวรรณ และ  เสมอชัย พูลสุวรรณ   
   เป็นการศึกษาการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิถีเศรษฐกิจกับความเป็นพหุทางชาติพันธุ์ในระบบตลาดกาดเมืองเชียงตุงรัฐฉานสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์    พบว่าท้ายที่สุดการเกิดการค้าระบบตลาดกาดเมืองเชียงตุงนำไปสู่การเกิดพลวัตของศูนย์กลางการคมนาคมและชุมชนทางการค้าโดยมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เช่น ขึน ไตโหลง ลื้อ หลอย จีนฮ่อ อาข่า พม่าและอินเดียประกอบกันเป็นเครือข่ายที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในการผลิต การจัดหาสินค้า รูปแบบการขนส่งสินค้าการพัฒนาของความเป็นพลวัตในกาดเมืองเชียงตุงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ในช่วงแรกชนชาติพันธุ์ต่างๆในเชียงตุงถูกแบ่งเป็นชนชั้นภายใต้การปกครองในระบบเจ้าฟ้าโดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ขึนเป็นผู้เล่นหลักเรื่อยมาจนถึงสมัยอาณานิคมที่ระบบเศรษฐกิจสำคัญขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมป่าไม้และแร่ธาตุที่ถูกกุมโดยกลุ่มของชนชั้นสูงและเครือญาติผลที่ตามมาในช่วงเวลานี้คือมันทำให้เกิดการไหลบ่าของคนในบังคับของอังกฤษลงสู่พื้นที่นี้เพื่อทำงานในภาคอุตสาหกรรมในที่สุดก็อาศัยอยู่อย่างถาวรในเมืองเชียงตุงจนมีสถานภาพและบทบาททางสังคมเพิ่มสูงขึ้นในระบบตลาดกาดเมืองเชียงตุงในเวลาต่อมา ช่วงที่ 2 สืบเนื่องมาจากระบบสังคมนิยมตามวิถีเกิดการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภคภายในประเทศไทยที่สุดจึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดระบบตลาดมืดและการค้าสินค้าผิดกฎหมายบริเวณตลอดแนวชายแดนไทยและจีนอย่างต่อเนื่อง ช่วงที่ 3 เมื่อระบบสังคมนิยมตามวิถีพม่าล่มสลายในค.ศ.1988 มีการเปิดประเทศและมีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศจากนโยบายการค้าชายแดนไทยเมียนมาร์ด้านด่านแม่สายท่าขี้เหล็กและจีนผ่านโครงการเส้นทางแนวเหนือใต้เส้น R3B ซึ่งเชื่อมแม่สายเชียงตุงเชียงรุ่งใน ค.. 2003 อันนำไปสู่การค้าชายแดนเต็มรูปแบบรวมถึงการส่งเสริมให้เชียงตุงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของพม่าการปรับตัวให้เข้ากับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งส่งผลให้กลุ่มชาติติพันธ์เช่นหลอยและอาข่าที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียงชนชาติพันธุ์ชายขอบและระบบเจ้าฟ้าและรัฐบาลทหารสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้เป็นอย่างดีในโลกเสรีนิยมสมัยใหม่ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความมั่งคั่งและการพัฒนาสถานะทางสังคมของกลุ่มชาติติพันธ์ ทำให้ยืนหยัดได้อย่างมั่นคงในประโยชน์ทางการค้าและด้วยทรัพยากรที่กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มี
         3.   ระบบนิเวศกับการวางผังหมู่บ้านพื้นถิ่นของไทเขินเชียงตุง (2548) อรศิริ ปาณินท์
   เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศและวิถีชีวิตสภาพหมู่บ้านของกลุ่มชาติติพันธ์ไททั้งในประเทศไทยและนอกประเทศไทย  พบว่ากลุ่มชาติพันธ์ไทนอกประเทศสามารถให้ความเข้าใจความสัมพันธ์ของชุมชนและหมู่บ้านได้แจ่มชัดกว่าในประเทศไทยเพราะชุมชนทุกแห่งยังเก็บรักษาลักษณะดั้งเดิมไว้ได้มากการนับถือธรรมชาติและบรรพบุรุษยังคงอยู่ด้วยกันอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในกลุ่มชาติติพันธ์ไทเขินเชียงตุง ในบทความนี้เห็นได้ชัดว่าผังกายภาพของหมู่บ้านสะท้อนให้เห็นแก่นของวัฒนธรรม 3 ประการคือ 1. การเคารพในธรรมชาติที่เชื่อมโยงจิตวิญญาณกับระบบนิเวศ  2. การเคารพบรรพบุรุษและเครือญาติ  3. การพึ่งพาตนเองในระบบของชุมชนที่ยืนอยู่บนขาของตนเอง     
      4. คุณลักษณะของเรือนพื้นถิ่นชาวไทเหนือหมู่บ้านหนองเงินเมืองเชียงตุงรัฐฉานเมียนมาร์  (2558)   
ภัควี วงศ์สุวรรณ และ เกรียงไกร เกิดศิริ 
 พบว่า กลุ่มเรือนที่ก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบและไม้ของชาวไทเหนือในหมู่บ้านหนองเงินมีพัฒนาการด้านเทคนิคการก่อสร้างเป็นสัมภาระทางวัฒนธรรมมาจากถิ่นฐานดั้งเดิมซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีนมาใช้ร่วมกันกับรูปแบบเรือนของชาวไทเขินซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่มาก่อนจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งลักษณะองค์ประกอบผังและแผนผังอาคารจะมีลักษณะคล้ายกับเรือนของชาวไทเขินเกือบทุกประการแต่จะแตกต่างกันตรงที่การวางตำแหน่งห้องนอนหลักของชาวไทเหนือนิยมวางทางฝั่งขวาของเข่งพะลา (หิ้งพระ) และนิยมหันหัวนอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในขณะที่เรือนไทเขินนิยมวางตำแหน่งห้องนอนทางฝั่งซ้ายของเข่งพะลาและนิยมหันหัวไปทางทิศตะวันออกการทราบถึงลักษณะสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นทำให้ทราบถึงข้อมูลที่พอจะเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นทางชาติพันธุ์ซึ่งเป็นชาวไทเหนือที่เอาภูมิปัญญาการก่อสร้างบ้านติดดินแบบจีนมาใช้กับพื้นที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ของชาวไทเขิน มีการหยิบยืมเอาวัฒนธรรมการก่อสร้างของชาติพันธุ์อื่นมาพัฒนาเป็นแนวทางของตน

 สรุป   จากที่ได้มีการอ่านทบทวนวรรณกรรมด้านงานเขียนชาติพันธุ์ของเชียงตุง พบว่า ในวารสาร  เรื่อง คุณลักษณะของเรือนพื้นถิ่นชาวไทเหนือของหมู่บ้านหนองเงิน เมืองเชียตุง ของภัควี วงศ์สุวรรณ และ เกรียงไกร เกิดศิริ  นั้นเป็นวารสารที่เผยแพร่เมื่อ ปี พ..2558 ได้มีการอ้างอิงถึงงานเขียน อรศิริ ปาณินท์ ในวารสาร เรื่อง พลวัตของเรือนพื้นถิ่นไทใหญ่ในพื้นที่ร่วมทางภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์ : ไทย เมียนมาร์ ลาว ฉบับเมื่อปี 2557 ที่อยู่ในด้านสถาปัตยกรรม โดยในงานเขียนเกี่ยวกับเชียงตุงในด้านชาติพันธุ์นั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นการเขียนนำเสนอเชียงตุงในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมเชียงตุงของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆอย่าง ไทใหญ่ ไทเขิน ลื้อ อาข่า พม่า อินเดีย โดยศึกษาวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ผ่านการค้าขายในตลาดว่าการเข้ามาของความเป็นโลกสมัยใหม่ทำเกิดระบบการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจึงทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ต้องมีการปรับตัวมีการติดต่อค้าขายกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่อยู่ในสังคมเชียงตุงเช่นเดียวกับกลุ่มตนอีกทั้งในสังคมเชียงตุงการเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทำให้มีวัดอยู่มากมายในเชียงตุงและวัดจึงมีความสำคัญกับคนในสังคมเชียงตุงมากในการ
            งานเขียนสถาปัตยกรรม ค้นพบ  1 วิทยานิพนธ์  3 วารสาร 1 วิดีทัศน์
             1.   พระเจดีย์เมืองเชียงตุงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พิพัฒน์  หน่อขัด  (2551) 
            พบว่า วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษารูปแบบการสร้างเจดีย์ในเมืองเชียงตุงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยมีเกณฑ์ในการแบ่งช่วงระยะเวลาทั้ง 2 ช่วง คือ กลุ่มเจดีย์เก่าและเจดีย์ใหม่ในช่วงปี พ..2500 เนื่องจากในปี พ..2498 มีการเปิดด่านพรมแดนท่าขี้เหล็กของรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าเป็นเหตุให้มีการหลั่งไหลของวัฒนธรรมและรูปแบบศิลปะเจดีย์เข้าสู่เมืองเชียงตุงอีกครั้งหนึ่งจากประวัติศาสตร์ที่เมืองเชียงตุงได้รับเอาพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในแต่ละช่วงเวลานั้นรูปแบบเจดีย์มีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยด้านต่างๆมากมายรูปแบบของกลุ่มเจดีย์เก่าที่พบในสภาพปัจจุบันยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของชุมชนที่มีต่อรูปแบบเจดีย์ที่ส่งผลมาถึงกลุ่มเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่มีการรับรูปแบบและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน นอกจากนี้ รูปแบบเจดีย์ทรงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องของรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจาก  ศิลปะล้านนา  ศิลปะพุกามศิลปะลังกา  ศิลปะพื้นเมืองเชียงตุง
                 กลุ่มเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนา
             กลุ่มเจดีย์กลุ่มใหญ่ที่แสดงความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองเมืองเชียงตุงคือกลุ่มเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนาลักษณะร่วมของเจดีย์กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นเจดีย์ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกันระหว่างการนำศาสนาจากดินแดนล้านนาเข้ามาสู่เมืองเชียงตุงเป็นสำคัญรูปแบบของเจดีย์ล้านนาที่ได้แรงบันดาลใจแต่รูปแบบเจดีย์เมืองเชียงตุงในแต่ละยุคมีความแตกต่างกันออกไป รูปแบบเฉพาะของล้านนาในช่วงปลายถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 คือนิยมทำฐานสูงส่วนฐานเป็นลวดลายบัวคว่ำบัวหงายพระวรกายค่อนข้างเรียบบางและเตี้ยพระอังสาใหญ่บั้นพระองค์เล็กพระเพลาค่อนข้างแคบนิยมทำนิ้วพระหัตถ์เดียวยาวปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 เสมอกันลักษณะนี้พบมากในพระพุทธรูปกลุ่มสกุลช่างเชียงราย   เชียงแสน ฝาง และเชียงของ
            กลุ่มเจดีย์ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลพม่า
         เมืองเชียงตุงนั้นถือเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพุกามเป็นและเวลาหลายร้อยปีเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบันนี้สำหรับหลักฐานเจดีย์เมืองเชียงตุงที่ได้รับอิทธิพลศิลปะพุกามนั้นกล่าวว่าในทางประวัติศาสตร์มีการสร้างมาตั้งแต่ยุคต้นของศิลปะเมืองพุกาม อาณาจักรพุกามในบางสมัยได้มีอิทธิพลเหนือดินแดนเมืองเชียงตุงรวมถึงอาณาจักรล้านนามีการปกครองที่ให้เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงเป็นผู้ปกครองและให้เสนาบดีจากเมืองพุกามเข้ามาปกครอง ทำให้มีเจดีย์รูปแบบศิลปะพุกามและศิลปะมอญ-พม่าอยู่มากมายในเมืองเชียงตุงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่เมืองเชียงตุงเป็นส่วนหนึ่งของพม่าเจดีย์ในรูปแบบศิลปะพุกามนั้นจึงยังคงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอดรวมทั้งการพัฒนารูปแบบเจดีย์ในเมืองเชียงตุงนั้นได้มีการนำศิลปะพุกามและศิลปะมอญแบบพม่ายุคหลังเข้ามาประกอบจนกลายเป็นการผสมผสานกันในศิลปะเจดีย์เมืองเชียงตุงอีกด้วย
               กลุ่มเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะลังกา
             ในด้านรูปแบบของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะลังกานั้นเป็นเจดีย์ที่มีความแตกต่างไปจากเจดีย์แบบลังกาแท้แต่แสดงลักษณะที่คงเกี่ยวข้องกับศิลปะลังกามากกว่ากลุ่มอื่นๆโดยมีลักษณะที่ปรากฏในเมืองเชียงตุงคือการรักษาลักษณะขององค์ละครั้งที่มีขนาดใหญ่มีบัลลังก์ในถังสี่เหลี่ยมมียอดฉัตรที่แปลงมาแล้วเป็นลูกแก้วซึ่งลักษณะพิเศษของเจดีย์นี้ได้ส่งอิทธิพลต่อรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังของดินแดนใกล้เคียงเป็นอย่างมากเช่นอาณาจักรมอญพุกาม การสร้างรูปแบบเจดีย์ แบบลังกาไม่พบมากในเมืองเชียงตุงแต่การสร้างเจดีย์รูปแบบศิลปะลังกาเข้ามาผสม ผสาน ศิลปะพื้นเมืองเชียงตุงนั้นเกิดขึ้นจากการให้ความสำคัญกับประเทศศรีลังกาโดยรูปแบบเจดีย์ที่คงเกี่ยวข้องกับศิลปะลังกาจะได้รับมาจากอาณาจักรพุกามอีกทอดหนึ่งหากพิจารณารูปแบบศิลปะแล้วความเป็นไปได้มากที่สุดคือการรับรูปแบบจากศิลปะเจดีย์สายเจดีย์ลังกาที่แผ่เข้ามาสู่ดินแดนพุกามในกลุ่มของเจดีย์ฉปัฏ โดยเจดีย์ในเชียงตุงที่ได้รับอิทธิพลจากลังกามีลักษณะร่วมของเจดีย์ร่วมกันคือมีการแสดงลักษณะเส้นลวดขนาดใหญ่คาดไว้ที่ฐานขององค์ระฆังมีตั้งแต่ 3 เส้นขึ้นไปซึ่งมีอยู่แล้วในศิลปะลังกาส่วนองค์ละครั้งนั้นเป็นองค์ระฆังขนาดใหญ่ที่ยังคงได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกาความพิเศษของเจดีย์ในกลุ่มนี้คือมีลวดลายปูนปั้นศิลปะเมืองเชียงตุงประดับเหนือส่วนบนขององค์ระฆังบัลลังก์
         2. พลวัตของสถาปัตยกรรมวัดไทยคือเมืองเชียงตุงรัฐฉานสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ในบริบทกระแสโลกาภิวัตน์      ประสงค์ แสงงาม และ สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ 
       พบว่า งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสถาปัตยกรรมวัดไทขึน เมืองเชียงตุงว่าปัจจัยใดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและการดำรงอยู่ของสถาปัตยกรรมวัดไทยในบริบทปัจจุบันทำให้ พบว่า สถาปัตยกรรมวัดเปลี่ยนแปลงมากตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมาโดยมากมีรูปแบบใกล้เคียงกับแบบเดิมก่อนกลางก่อสร้างใหม่วิหารอุโบสถและเจดีย์จะเปลี่ยนแปลงก่อนอาคารอื่นๆวัสดุและเทคนิคการก่อสร้างและช่างฝีมือมีผลต่อคุณลักษณะทางกายภาพของอาคารโดยตรงกระบวนการมีทั้งเกิดจากภายในคือชาวบ้านและองค์กรสูงของเมืองเชียงตุงกระบวนการภายนอกเกิดจากศรัทธาและเครือข่ายส่งข้ามพรมแดนมามีส่วนร่วมมากขึ้นภายหลังพม่าเปิดประเทศปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ปัจจัยทางตรงคือ 1.) การเสื่อมสภาพของอาคาร  2.) การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ  3.) ทรัพยากร 4.)  วัสดุก่อสร้างและช่างฝีมือ ส่วนปัจจัยทางอ้อมได้แก่  การเมืองการปกครอง  เศรษฐกิจและสังคม
      3. งานศิลปะสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาแบบเชียงตุง  สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ
   พบว่างานศิลปะสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาในเชียงตุงนั้นเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 มาตราบจนกระทั่งปัจจุบันโดยพบหลักฐานจากตำนาน พงศาวดาร หรือจารึกต่างๆงานศิลปะสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายและสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้พุทธศาสนิกชนให้รำลึกถึงพระพุทธคุณกับเพื่อประกอบการตอบสนองการใช้สอยในการประกอบพิธีกรรมและการอยู่อาศัยของพระภิกษุ องค์ประกอบพุทธสถานแบบเชียงตุงงานศิลปะสถาปัตยกรรมของพุทธสถานในเชียงตุงนั้นมีการสร้างบูรณปฏิสังขรณ์มาอย่างไม่ขาดสายก็เนื่องด้วยเป็นแนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนชาวเชียงตุงที่ได้ยึดถือและกระทำสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งการทำนุบำรุง ศาสนสถานของชาวเชียงตุงนั้นเห็นได้ชัดว่าส่งผลต่อองค์ประกอบภายในเขตพุทธสถานโดยผลงานจํานวน มากนั้นพบว่ามีการแต่งเติมและซ้อนทับกันมาหลายยุคสมัยสามารถจำแนกองค์ประกอบพุทธสถานแบบเชียงตุงได้ดังนี้วิหารเจดีย์และอุโบสถอาคารเสนาสนะประเภทดังกล่าวนี้เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นมาไม้เป็นสิ่งว่าลึกถึงพระพุทธเจ้าและสถานที่สำหรับประกอบกิจหรือใช้สอยของพระภิกษุสงฆ์
        4.    ททบ 5 โลก 360 องศา เชียงตุง ตอนที่ 3 พระพุทธศาสนารุ่งเรืองที่เมืองเชียงตุง 
    เป็นวิดีทัศน์ที่ว่าด้วยพระพุทธศาสนาของเมืองเชียงตุงว่ามีความเจริญรุ่งเรืองและหยั่งรากลึกอยู่ในสังคมของเชียงตุงจนเป็นเมืองที่ได้รับการขนานนามว่า เมืองร้อยวัดแต่วัดต่างๆมากมายที่อยู่ในเมืองเชียงตุงในแต่ละวัดจะมีแนวคิดและคติความเชื่อในการสร้างวัดนั้นแต่ละที่แตกต่างกันออกไปเนื่องจากในสังคมเชียงตุงเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ดังนั้นรูปแบบในการออกแบบวัดจึงแตกต่างกันออกไป วัดของชาวไทเขินจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากวัดของชาวพม่าเพราะวัดของชาวไทเขินนั้นจะมีลักษณะสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับชาวล้านนา กว่า 330 วัดในเมืองเชียงตุงส่วนใหญ่จะเป็นของชาวไทเขินหรือชาวไทใหญ่วิธีการที่เราสามารถจะรู้ได้ว่าวัดไหนเป็นของชาวไทเขินหรือไทใหญ่สังเกตได้จากถ้าวัดไหนขึ้นต้นด้วยคำว่า จองจะเป็นของชาวไทใหญ่ ถ้าวัดไหนขึ้นต้นด้วยคำว่า วัดจะเป็นของชาวไทเขินหรือวิธีสังเกตง่ายๆอีกวิธีหนึ่งก็คือ การสังเกตองค์พระประธานถ้าองค์พระพุทธรูปมีรูปแบบที่คล้ายเมืองไทยมากก็จะเป็นแบบชาวไทเขินแต่ถ้ามีลักษณะแปลกตาคล้ายๆกับพระพุทธรูปของชาวพม่าคือ วัดของชาวไทใหญ่
      5. พลวัตของเรือนพื้นถิ่นไทใหญ่ในพื้นที่ร่วมทางภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์ : ไทย เมียนมาร์ ลาว (2557) 
อรศิริ ปาณินท์  พบว่า เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาเปรียบเทียบเรือนพื้นถิ่นในชุมชนไทยใหญ่ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ร่วมทางภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์ประกอบด้วยไทย เมียนมาร์ จีนและอินเดียซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือถึง 28 องศาเหนือ โดยศึกษากรณี อันประกอบไปด้วยเรือนไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทยในเชียงตุงรัฐฉานของพม่า  ในแคว้นมาวแคว้นใต้คงของจีน และในเมืองสิวะสาครรัฐอัสสัมของอินเดีย โดยต้องการศึกษาว่าเรือนไทยใหญ่ในพื้นที่ต่างๆเหล่านี้มีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรบ้างวัฒนธรรมหลักในแต่ละพื้นที่สามารถทอดเงาปกคลุมอัตลักษณ์เดิมให้แปรผันไปได้หรือไม่อย่างไร  ผลการศึกษาปรากฏว่าเรือนไทใหญ่ในเมืองแม่ฮ่องสอนของไทยและในเชียงตุงรัฐฉานของเมียนมาร์อยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมไทยวน ไทเขินซึ่งคล้ายคลึงกันกับวัฒนธรรมการอยู่อาศัยของไทใหญ่อีกทั้งศาสนาและความเชื่อก็เป็นพุทธศาสนาแบบหินยาน เช่นเดียวกัน มีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมน้อยมากยังคงรูปแบบเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาจั่วหรือจั่วปั้นหยาบนผังพื้นที่เป็นระบบเดียวกันคือบันไดขึ้นหน้าเดือนไปยังชั้นบนสู่ชานหน้าเรือนใต้หลังคาคลุมและเข้าสู่โถงภายในที่แบ่งเป็นสองฟากฟากหนึ่งเป็นโถงกลางที่ประดิษฐาน เข่งพะลา (หิ้งพระ) อีกฟากหนึ่งเป็นส่วนนอนที่มีปริมาณน้อยมากตามขนาดของครอบครัวและปิดท้ายด้วยส่วนครัวและชานซักล้างเรือนไทใหญ่ในไทยและเมียนมาร์ต่างได้รับอิทธิพลจากเรือนไทยวน ไทเขินซึ่งเป็นวัฒนธรรมหลักของพื้นที่แต่เนื่องจากทางวัฒนธรรมหลักและรองต่างๆก็มีลักษณะร่วมกันมากมายทำให้เรือนไทใหญ่ในไทยและเมียนมาร์ต่างยังคงรูปลักษณ์เดิมอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่เรือนไทใหญ่ในเมืองมาว แคว้นใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมหลักของจีนยังสามารถคงรูปแบบผังพื้นและรูปทรงที่เป็นเรือนยกพื้นใต้ถุนสูงอยู่ได้เป็นบางกลุ่ม หลังคายังคงเป็นจั่วปั้นหยาแต่ความเอียงลาดของหลังคาต่ำแบบเรือนจีนและปัจจุบันนิยมกั้นชั้นล่างเพื่อใช้งานต่อเนื่องกับพื้นดินเช่นเดียวกับเรือนจีนวัฒนธรรมการอยู่แบบจีนครอบคลุม เรือนไทใหญ่ไปกว่าครึ่ง ส่วนเรือนไทอาหม หรือไทใหญ่ในอินเดียนั้นปรากฏว่าวัฒนธรรมฮินดูซึ่งเป็นกระแสหลักในพื้นที่ ได้ทอดเงาครอบคลุมเรือนอย่างมืดมิดไม่มีเค้ารูปของเรือนดั้งเดิมที่เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงเลยแม้แต่น้อยกลับกลายเป็นเรือนหลังคาจั่วชั้นเดียวติดพื้นดินมีชายคาระเบียงข้างเรือนตัวเรือนเข้าจากระเบียงด้านข้างภายในตัวเรือนแบ่งเป็น 3 ส่วนคือโถงส่วนนอนและครัว  เรียงตามลำดับความยาวของเรือนภายในโถงไม่มี เข่งพะลา (หิ้งพระ) แบบเรือนไทยใหญ่อีก 3 แหล่ง เห็นได้ชัดว่าวัฒนธรรมกระแสหลักในแต่ละพื้นที่ได้ทอดเงาครอบคลุมลักษณะของเรือนไทใหญ่ในไทย  เมียนมาร์  จีนและอินเดียตั้งแต่ครอบคลุมน้อยในไทยและเรียงมาจนถึงมากในจีนและมากที่สุดในอินเดีย

       สรุป  จากวารสารทั้งเรื่องเกี่ยวกับศิลปะและสถาปัตยกรรมเชียงตุงนั้นชี้ให้เห็นว่า ในอดีตเมืองเชียงตุงเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการทางการเมืองร่วมกับเมืองเชียงใหม่ทางด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจตลอดจนผู้คนและวัฒนธรรมจึงทำให้ได้รับอิทธิพลต่างๆมาจากล้านนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมวัดมีความคล้ายคลึงกับล้านนาโดยศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากเห็นได้จากการมีอยู่ของวัดในหลายร้อยวัดในชุมชนเมืองเชียงตุงการสร้างสถาปัตยกรรมของวัดเองก็สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์อย่างในงานเขียนวารสารของ อรศิริ ปาณินท์  เรื่องพลวัตของเรือนพื้นถิ่นไทใหญ่ในพื้นที่ร่วมทางภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์ : ไทย เมียนมาร์ ลาว เมื่อปี 2557 นั้นส่งอิทธิพลต่องานเขียนของเชียงตุงในด้านชาติพันธุ์ของ ภัควี วงศ์สุวรรณ และ เกรียงไกร เกิดศิริ  วารสารเรื่อง คุณลักษณะของเรือนพื้นถิ่นชาวไทเหนือหมู่บ้านหนองเงินเมืองเชียงตุงรัฐฉานเมียนมาร์ในปี พ..2558  ที่ทำให้เห็นว่าการสร้างสถาปัตยกรรมในเชียงตุงนั้นมีความเกี่ยวโยงกับชาติพันธุ์ตรงที่กลุ่มชาติพันธุ์มีการถูกกลืนทางวัฒนธรรมโดยเกิดจากพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่มีกระแสของวัฒนธรรมหลักทำให้เกิดการครอบงำทางวัฒนธรรมนำไปสู่เทคนิคการสร้างบ้านเรือนที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการสร้างบ้านเรือนให้เหมาะสมกับพื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มตนรวมไปถึงความเป็นพลวัตนั้นทำให้การสร้างสถาปัตยกรรมของเชียงตุงมีเทคนิคและรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงถึงแม้ว่าในปัจจุบันองค์ประกอบหลักของพุทธสถานแบบเชียงตุงยังคงอยู่แต่ก็มีการสร้างอาคารใหม่เพิ่มขึ้นตามความต้องการการใช้สอยพื้นที่จึงมีการบูรณะและซ่อมแซม แต่งเติมซ้อนทับอยู่เรื่อยมาจนทำให้คุณลักษณะหรือองค์ประกอบบางอย่างของสถาปัตยกรรมมันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
            งานเขียนด้านการท่องเที่ยว ค้นพบ 1 วารสาร 2 วิดีทัศน์        
           1. ททบ 5 โลก 360 องศา วิดีทัศน์เรื่อง เชียงตุง (2559) ตอนที่1 หลงรักเข้าแล้วเมื่อได้มาแอ่วเชียงตุง
      พบว่า เชียงตุงตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศเมียนมาร์ ซึ่งสามารถเดินทางจากประเทศไทยผ่านทางด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายเป็นระยะประมาณ 160 กิโลเมตร ผู้คนในเชียงตุงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ร่อนทองและขุดทราย และหากกล่าวถึงความเป็นมาของเชียงตุง กล่าวได้ว่าเชียงตุงเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมานานนับพันปีจึงมีตำนานเล่าขานที่มาของชื่อมากมายหนึ่งในนั้นคือตำนานที่กล่าวถึง ตุงคฤาษี ว่าเป็นผู้สร้างพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อว่า พระธาตุบ้านเมือง โดยตุงคฤาษีองค์นี้ได้แสดงอิทธิฤทธิ์โดยการทำให้เมืองเชียงตุงรอดพ้นจากภัยพิบัติน้ำท่วมด้วยการสร้างหนองน้ำขนาดใหญ่และสิ่งนี้ก็ได้กลายมาเป็นชื่อเมืองเชียงตุงในเวลาต่อมา นอกจากนั้นที่พระธาตุยังเป็นจุดสำคัญที่สามารถเห็นแม่น้ำขืนไหลผ่านในลักษณะคดเคี้ยวคล้ายพญานาคเลื้อยมาสักการะพระธาตุบ้านเมืองอีกด้วย เชียงตุงถือเป็นเมืองหนึ่งที่เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์แต่กลุ่มชาติพันธุ์หลักที่อาศัยอยู่ในเชียงตุงก็คือ ชาวไทเขิน รองลงมาคือ ชาวไทใหญ่ ในอดีตชาวไทเขินถือว่าเป็นชนชั้นปกครองของเชียงตุงและมีระบอบการปกครองแบบระบบกษัตริย์แต่เมื่อเมียนมาร์มีการเปลี่ยนทางการเมืองจึงทำให้ระบบกษัตริย์ของเชียงตุงเลือนหายไป ในด้านสังคมของเชียงตุงนั้นถึงแม้ว่าในโลกปัจจุบันจะมีการเข้ามาของความเป็นสมัยใหม่ บริโภคนิยม วัตถุนิยม  การมีอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า แต่ที่เชียงตุงไม่มีอุตสาหกรรม ไม่มีห้างสรรพสินค้าข้าวของเครื่องใช้ส่วนใหญ่ที่เชียงตุงเป็นสินค้าทางการเกษตรทำให้ในสังคมของชาวเชียงตุงความเป็นสมัยใหม่ไม่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงคนเชียงตุงในเรื่องของการติดบริโภคนิยมคนเชียงตุงยังคงดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายและไม่ฟุ้งเฟ้อและในสังคมเชียงตุงยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในสังคมของเชียงตุง คือ กลุ่มคนมุสลิมป่าแดง ที่ในเชียงตุงมีการก่อตั้งกันเป็นชุมชนมุสลิมถึง 250 ครัวเรือน มีมัสยิสเชียงตุงที่มีอายุเก่าแก่ถึง 130 ปีที่คนมุสลิมในชุมชนนี้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นโรงเรียนสอนทางศาสนาให้กับเด็กๆในชุมชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยเด็กส่วนใหญ่ที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่คือ ชาวมุสลิมเชื้อสายจีน มุสลิมเชื้อสายบังกลาเทศ มุสลิมไทใหญ่ มุสลิมอาข่า มุสลิมลาหุ ตามลำดับ นอกจากมุสลิมแล้วในเชียงตุงยังมีคนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่ด้วยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขามีโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในเชียงตุงที่ชื่อว่า RCM Church ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นอาณานิคมตะวันตกในโบสถ์จะมีโรงเรียนสอนหนังสือให้กับเด็กๆอีกด้วยทำให้เห็นถึงความเป็นพหุทางวัฒนธรรมและทางศาสนาและสังคมของเชียงตุงได้เป็นอย่างดี
        2.  ททบ 5 โลก 360 องศา วิดีทัศน์เรื่อง เชียงตุง (2559) ตอนที่ 2 วิถีเชียงตุง พบว่า ประวัติศาสตร์อันยาวนานและอารยธรรมต่างๆที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามามีบทบาทในประเทศเมียนมาร์ได้หล่อหลอมให้คนในภูมิภาคต่างๆของคนในประเทศนี้มีวัฒนธรรมที่หลากหลายและมีวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์และความหลากหลายแตกต่างของผู้คนตามภูมิภาคต่างๆนี้ก็ได้ทำได้ในแต่ละบริเวณพื้นที่มีกฎระเบียบที่แตกต่างกันไปการที่เราจะเข้าไปท่องเที่ยวตามรัฐต่างๆนั้นจึงต้องตรวจสอบก่อนว่าเราสามารถเข้าไปท่องเที่ยวยังเมืองไหนได้บ้างและจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง รัฐฉานเองก็มีกฎและไม่ได้อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปได้ทุกที่แต่พื้นที่ในเมืองเชียงตุงนั้นอนุญาตให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยที่มีวีซ่าหรือหนังสือผ่านแดนสามารถเข้าไปท่องเที่ยวได้อย่างราบรื่น วิถีชีวิตของชาวเชียงตุงส่วนใหญ่เป็นวิถีชีวิตที่เรียนง่ายโดยมีการประกอบอาชีพเกษตรกร ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ บ้านเรือนของผู้คนนิยมสร้างด้วยไม้และอิฐยกพื้นสูงและจะไม่มีการฝังเสาลงดินแต่นิยมใช้หินมารองฐานเพื่อกันปลวกกินเสาแสดงให้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านแต่ถ้าหากคนที่ตังสักหน่อยนึงก็จะสร้างบ้านด้วยอิฐเพื่อความแข็งแรงของตัวบ้าน   ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ชื่อยางขวายหนึ่งในชุมชนของชาวไทเขินโบราณที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิตในแบบดั้งเดิมเอาไว้ได้หมู่บ้านชาวไทเขินแห่งนี้ มีความหมายว่า ยังคอย ในภาษาไทยชื่อนี้มีที่มาโดยมาจากตำนานมาจากที่หญิงสาวรอคอยคนรักของตนที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะกลับมาหาแต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลานานชายหนุ่มก็ไม่กลับมาหาหญิงสาวตามสัญญาจึงเป็นที่มาของชื่อผู้บ้าน ยางขวาย หรือที่แปลว่ายังคอยนั้นเอง  ในเชียงตุงนั้นมีวัดอยู่มากมายซึ่งแต่ละวัดก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปโดยวัดที่มีขนาดใหญ่ในเชียงตุงนอกจากจะเป็นศูนย์รวมจิตรใจของคนเชียงตุงและใช้ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาแล้วนั้นวัดในเชียงตุงที่มีขนาดใหญ่จะใช้เป็นสถานที่ทำการศึกษาให้ความรู้ในแขนงต่างๆหนึ่งในนั้นคือ การเผยแพร่วัฒนธรรมของชาวไทเขินโดยมีการเรียนภาษาไทเขินและภาษาไทย อีกทั้งยังการฟื้นฟูศิลปะการร่ายรำของชาวไทเขินและการเล่นเครื่องดนตรีของไทเขินทำให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของศิลปะการฟ้อนรำของชาวไทเขินโยที่กล่าวมาจะใช้วัดเป็นสถานที่ประกอบการแสดงทำให้ว่าวิถีชีวิตของคนเชียงตุงผูกพันกับวัดและศาสนาและแสดงให้เห็นว่าวัดในเชียงตุงเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูและรักษาวัฒนธรรมของชาวเชียงตุง
           3.     การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแม่สาย เชียงตุง  ปทุมพร   แก้วคำ (2555)    เป็นบทความวิชาการที่มีการเปรียบเทียบการท่องเที่ยวในอำเภอแม่สาย ประเทศไทยและ เชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ เป็นการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมเนื่องด้วยมีความเกี่ยวข้องระหว่างเชียงตุงกับล้านนาอันเนื่องมาจากมีผู้สถาปนาเป็นบุคคลเดียวกัน คือ พระยาเม็งราย จึงส่งผลให้ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ การกิน ตลอดจนลักษณะนิสัยที่มีความคล้ายคลึงกันของทั้งสองทำให้พบว่า แม่สายเป็นเมืองการค้าชายแดนที่สำคัญระหว่างไทยพม่าและจีนในอดีตแม่สายเคยเป็นหมู่บ้านเล็กๆอยู่บนเส้นทางระหว่างเมืองเชียงตุงและเมืองต่างๆของชาวไตในรัฐฉานก่อนที่พม่าจะเข้าครอบครองเทือกเขาแดนลาวมีช่องผ่านระหว่างไทยกับพม่าอยู่หลายแห่งบริเวณท่าขี้เหล็กกับแม่สายเป็นเส้นทางติดต่อระหว่างเชียงแสน แม่จัน และแอ่งเชียงใหม่ ลำพูนไปสู่เมืองทางตอนเหนือในรัฐฉานของเมียนมาร์ถึงแม้ว่าแม่สายได้กลายเป็นเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นแหล่ง   ช้อปปิ้งซื้อขายสินค้าแต่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจากมรดกทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน จากผ้าที่พันและมรดกทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและวัฒนธรรมการกินข้าวแรมฟืนหรือข้าวแรมคืนซึ่งเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มีรสเปรี้ยวเผ็ดหวานเป็นอาหารว่างและอาหารหลักอาหารคาวและอาหารหวานซึ่งเป็นมังสวิรัติเป็นที่นิยมในกลุ่มของชาติพันธุ์และชุมชนในพื้นที่ และถ้าหากอยากจะเดินทางเพื่อท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเชียงตุงนั้นสามารถเดินทางผ่านถนนท่าขี้เหล็กของเมียนมาร์ซึ่งอยู่กับด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตรใช้เวลา 5 ชั่วโมง ระบบเดินรถแบบวิ่งชิดขวาระหว่างทางต้องผ่านด่านชั่งน้ำหนักรถ 3 ด่าน ได้แก่ ด่านท่าขี้เหล็ก ด่านท่าสี่ และด่านเชียงตุง ซึ่งจะเสียค่าบริการตามน้ำหนักรถอย่างไรก็ตามระหว่างทางยังมีด่านอื่นๆอีกประมาณ 4-5 ด้านเป็นด่านทหารและด่านตรวจตรวจคนเข้าเมือง มีการเก็บเงินค่าผ่านทาง ตรวจเช็คเอกสารผ่านแดนและประทับตราเพื่อผ่านด่านดังนั้นหากนักท่องเที่ยวไม่ได้ประทับตราผ่านด่านใดด่านหนึ่งจะไม่อนุญาตให้ผ่านโดยเด็ดขาดเมื่อผ่านเข้าไปยังเมืองเชียงตุงได้แล้วตลอดเส้นทางจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสลับกับพื้นที่ชุมชนชาวไตในขณะพื้นที่พื้นที่สูงจะเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าอาข่า มูเซอส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์และมักจะพบโบสถ์ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้าน ถ้าหากกล่าวถึงวัฒนธรรมที่เชียงตุงมีคล้ายกับแม่สายแล้วนั้นกล่าวได้ว่า คือ วัฒนธรรมการกิน ที่อาหารมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับชุมชนในอำเภอแม่สายซึ่งยังพบข้าวซอย ข้าวแรมฟืน ถั่วเน่า ก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้น ข้าวหลาม โรตีโอ่ง (ใช้วิธีการอบจากเตา) สภาพของสังคมและวัฒนธรรมซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเห็นได้ชัดจากตลาดของเมืองเชียงตุงที่มีผู้คนหลากหลายชนเผ่า เชื้อชาติที่ค้าขายและซื้อสินค้าในบริเวณนั้น
       สรุป  การเดินทางเข้าไปยังเมืองเชียงตุงในยุคเปิดเสรีด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลพม่า สามารถเดินทางจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นชายแดนที่อยู่ติดกับเชียงตุงรัฐฉานพม่า โดยใช้เส้นทางท่าขี้เหล็กท่าเดื่อก็สามารถเดินทางข้ามประเทศไปได้แล้ว เมื่อไปถึงเชียงตุงสิ่งแรกที่จะสังเกตเห็นได้ ตลอดระยะเวลาของการเดินทาง คือสองข้างทางจะเต็มไปด้วยทุ่งนา มันบ่งบอกว่าผู้คนส่วนใหญ่ในเชียงตุงดำรงชีวิตด้วยการประกอบอาชีพทำเกษตรกร และดำเนินชีวิตโดยการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ เป็นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย และวิถีชีวิตของคนเชียงตุง ก็มี วัฒนธรรมอันคล้ายคลึง ผู้คน ในแม่สาย จังหวัดเชียงราย ของประเทศไทย เช่นวัฒนธรรมการกิน อย่างการกินข้าวแรมฟืนซึ่ง ในแม่สายเองก็มีการบริโภคข้าวแรมฟืนอยู่เช่นกัน สะท้อนให้เห็นถึงรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ที่มีร่วมกันระหว่างคนเชียงตุง กับคนเชียงราย ในสมัยที่เป็นอาณาจักรล้านนา  
          สรุปงานเขียนทั้งหมด
    กล่าวสรุปได้ว่าจากการสำรวจความรู้เกี่ยวกับเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ในไทยนั้นได้ค้นพบทั้งเอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ วารสาร และวิดีทัศน์ที่เกี่ยวกับเชียงตุงทำให้ว่าในประเด็นการเขียนทบทวนที่แบ่งหัวข้อการทบทวนออกเป็น 4 ประเด็นนั้นในงานเขียนด้านสถาปัตยกรรมของ อรศิริ ปาณินท์ ที่เขียนเรื่องพลวัตของเรือนพื้นถิ่นไทใหญ่ในพื้นที่ร่วมทางภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์ : ไทย เมียนมาร์ ลาว ที่เขียนขึ้นในปี 2557 นั้นส่งอิทธิพลต่องานเขียนในด้านชาติพันธุ์ของ ภัควี วงศ์สุวรรณและเกรียงไกร เสดศิริ เรื่องคุณลักษณะของเรือนพื้นถิ่นทางไทเหนือของหมู่บ้านหนองเงิน เมืองเชียงตุง รัฐฉาน เมียนมาร์ ในปี 2558 โดยในงานเขียนเกี่ยวกับเชียงตุงทั้ง 4 ประเภทไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ ด้านชาติพันธุ์  ด้านการท่องเที่ยว ด้านสถาปัตยกรรมนั้นงานเขียนด้านสถาปัตยกรรมของเชียงตุงจะมีมากที่สุดโดยงานเขียนในด้านสถาปัตยกรรมและงานเขียนในด้านนี้นั้นจะสะท้อนให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมในเชียงตุงได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่มากจากล้านนาและอิทธิพลของศาสนาพุทธทำให้มีวัดมากมายในเชียงตุงสถาปัตยกรรมต่างๆอย่างวัดมีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงถึงจิตวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงตุงไม่ว่าจะเป็นชาวไทใหญ่ ไทเขิน ฯลฯ ล้วนมีประวัติศาสตร์ผูกพันมากับพระพุทธศาสนาถึงแม้ว่าการเข้ามาของความเป็นสมัยใหม่จะทำให้การดำเนินชีวิตของคนในเชียงตุงจะเปลี่ยนไปบ้างแต่ผู้คนในสังคมเชียงตุงก็สามารถที่จะปรับตัวและอยู่ร่วมกันในสังคมได้โดยที่พระพุทธศาสนาไม่เสื่อมถอยลงแม้แต่น้อยในปัจจุบันแม้ว่าประเทศเมียนมาร์ได้มีการเปิดประเทศเป็นเสรีมากขึ้นทำให้เชียงตุงมีงานเขียนนำเสนอด้านการท่องเที่ยวเริ่มมีปรากฏขึ้นให้เห็นและศึกษาในเรื่องของการท่องเที่ยวในหลายมิติต่างๆไม่ว่าจะเป็นเชิงวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตก็ทำให้เห็นเชียงตุงในหลายๆด้านว่าเป็นสังคมที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้ได้อยู่และยังคงใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายผู้คนนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสุดท้ายงานเขียนในด้านงานเขียนประวัติศาสตร์ของเชียงตุงทำให้เห็นมิติของเชียงตุงในด้านของการให้ความสำคัญของประวัติศาสตร์การทำศึกเชียงตุงของทั้งสองประเทศอย่างไทยและเมียนมาร์ว่ามีการให้ความสำคัญของศึกเชียงตุงที่ไม่เหมือนกันและสาเหตุที่แท้จริงอีกด้านของการที่สยามทำศึกกับเชียงตุง

ข้อเสนอแนะ
   1. การสำรวจความรู้เกี่ยวกับเชียงตุงในไทยครั้งนี้ทำให้ทราบว่างานเขียนในด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเชียงตุงนั้นมีน้อยและเป็นงานเขียนที่เน้นประวัติศาสตร์เชียงตุงในด้านของการทำศึกสงครามนั้นก็คือศึกเชียงตุงที่มีความเกี่ยวข้องกับไทยเพราะสยามมีการยกทัพไปตีเมืองเชียงตุงในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้ไม่เห็นมิติทางด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงตุงในด้านอื่นที่มีความหลากหลายมากกว่านี้
      2. ในวิดิทัศน์เกี่ยวกับความรู้เมืองเชียงตุงที่นั้นมีจำนวนน้อยส่วนใหญ่แล้ววิดิทัศน์ที่ค้นพบจะเป็น Vlog ที่ Youtuber ทำขึ้นทำให้ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้เกี่ยวกับเชียงตุงที่มากนัก 




อ้างอิง
รัตนพร เศรษฐกุล.(2558). การเมืองข้ามฝั่งโขง : ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสิบสองปันนา, วารสารวิจิตรศิลป์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.
รัตนพร เศรษฐกุล.(มปป).ศึกเชียงตุง : การเปิดแนวรบเหนือสุดแดนสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
สุเนตร ชุตินธรานนท์. (มปป). ศึกเชียงตุงในวรรณกรรมพม่า.
ปทุมพร   แก้วคำ.(2555).การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแม่สาย เชียงตุง.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ปีที่ 7 ฉบับที่1 ( มกราคม มิถุนายน 2555) .
โลก 360 องศา เชียงตุง ตอนที่ 1 หลงรักเข้าแล้วเมื่อได้มาแอ่วเชียงตุง   ช่อง ททบ5  https://www.youtube.com/watch?v=NcWA9U5Is20.
โลก 360 องศา เชียงตุง ตอนที่ 2 วิถีเชียงตุง ช่อง ททบ5   https://www.youtube.com/watch?v=91v3120xKCA.
รักฎา  เมธีโภคพงษ์. (มปป). วัดและชุมชนไทใหญ่ในเมืองเชียงตุง. หลักสูตรสหวิทยาการสังคมศาสตร์และคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
ดุจฤดี คงสุวรรณและเสมอชัย พูลสุวรรณ.(2561). พลวัตของกาดเมืองเชียงตุงในบริบทการค้าและความเป็นชาติพันธุ์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่11 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม.
พิพัฒน์  หน่อขัด.(2551). พระเจดีย์เมืองเชียงตุงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประสงค์ แสงงาม และ สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ .(2559). พลวัตของสถาปัตยกรรมวัดไทยคือเมืองเชียงตุงรัฐฉานสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ในบริบทกระแสโลกาภิวัตน์. วารสาร ฉับบที่ 30 มกราคม-ธันวาคม.
สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ. (มปป). งานศิลปะสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาแบบเชียงตุง.วารสารวิจิตรศิลป์.
อรศิริ ปาณินท์.(2557).พลวัตของเรือนพื้นถิ่นไทใหญ่ในพื้นที่ร่วมทางภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์ : ไทย เมียนมาร์ ลาว.วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.ฉบับที่ 28.







              

         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น