พระลักษมี
เทพีแห่งความมั่งคั่ง ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์
กำเนิด
กำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า
ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (ลูกสาวแห่งทะเลน้ำนม)
ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า
ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า
พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางขยาติ
และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย
ที่มา http://www.siamganesh.com |
รูปร่างและอุปนิสัย
ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค
มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ
เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท
มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ
นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2
กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง
นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว
ลักษณะเฉพาะ สิ่งที่พระลักษมีทรงถืออยู่ที่เห็นกันบ่อยที่สุด
คือ ดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และมักจะถือไว้ 2 ดอก
หรือไม่ก็ทรงถือหม้อน้ำ พระหัตถ์หนึ่ง อีก พระหัตถ์หนึ่งหงายลงสู่พื้น
มีเหรียญทองโปรยปรายลงจากใจกลางพระหัตถ์นั้น หรือไม่ก็เทออกมาจากในหม้อ
เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งโชคลาภและความร่ำรวย
ที่มา http://www.siamganesh.com |
พาหนะ คือ ช้างคนอินเดียถือว่า ช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาธิการ พลังอำนาจ
และความมั่งคั่ง ดังกำเนิดพระลักษมีที่มีช้างโปรยน้ำถวายนั่นเอง นอกจากช้างแล้ว
ชาวอินเดียทั้งหลายก็นับถือ เบี้ยจั่น
ว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระแม่ลักษมีมาแต่โบราณ ซึ่งจะเก่าแก่เท่าใดก็ไม่ทราบได้แต่อย่างน้อยต้องเก่าถึงสมัยที่ยังใช้เบี้ยจั่นแทนเงินตรากันอยู่เพราะว่าพระนางทรงเป็นเทวีแห่โภคทรัพย์ ความร่ำรวย
จึงย่อมทรงเกี่ยวข้องกับเงินตรา ซึ่งแทนด้วยเบี้ยจั่นนั้น
คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า
ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์
กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนักแต่ก็มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่บูชาศักการะในพระแม่ลักษมี
ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระลักษมี ศิลปะที่เกี่ยวข้องพระลักษมีมีปรากฏให้เห็นอยู่ตามรูปสลักภายในปราสาทในหลายปราสาทและปราสาทกระวานก็เป็นหนึ่งในปราสาทที่ปรากฏรูปสลักของพระลักษมีโดยลักษณะที่ปรากฏนั้นลักษณะทางศิลปกรรม เป็นภาพสลักรูปบุคคลภายในปราสาทองค์ทิศเหนือสุดเป็นรูปสตรีมี
1 เศียร ทรงกระบังหน้า
รัดเกล้าเป็นแนววงแหวนประดับแผ่นรูปสามเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นเป็นรูปกรวยมี 4 กรทรงถือสิ่งของต่างๆเช่น ตีศูล จักร
ทรงผ้านุ่งยาวจนถึงข้อพระบาท ผ้านุ่งมีริ้วทั้งผืน
ด้านหน้ามีชายผ้าเป็นวงโค้งขนาดใหญ่ใต้แผ่นวงโค้งมีชายเข็ดขัดเป็นแถบขนาดใหญ่ที่ด้านซ้ายขวาของรูปสตรีตรงกลางมีรูปบุคคลขนาดเล็กนั่งพนมมืออยู่รูปสลักทั้งหมดนี้อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วประดับพู่ห้อย
จากลักษณะดังกล่าวสามารถกำหนดอายุอยู่ในศิลปะเกาะแกร์ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 15 เนื่องด้วยปราสาทกระวานสร้างขึ้นในลัทธิไวษณพนิกายจึงปรากฏภาพเล่าเรื่องต่างๆเกี่ยวข้องกับพระวิษณุจากในภาพนี้เป็นสตรีที่มี
1 เศียร 4 กร ทรงถือสิ่งของต่างๆเช่น ตรีศูล
จักร สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงพระลักษมี พระชายาของพระวิษณุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น