สวัสดีค่า…สวัสดีทุกๆคนที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกนี้อีกครั้งนะคะหลังจากห่างหายกันไปนานจากการแนะนำบล็อกในครั้งก่อนนู้น…กลับมาคราวนี้ผู้เขียนจะมาแชร์ความรู้และเรื่องราวความมหัศจรรย์ของหนึ่งในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นเพื่อนบ้านที่ติดอยู่กับประเทศของเราใกล้ๆ
นี้เองประเทศนั้นก็คือ ประเทศกัมพูชา ดินแดนแห่งปราสาทขอมอันศักดิ์สิทธิ์ ประเทศกัมพูชาในอย่างที่เราทราบนั้นถือเป็นประเทศที่มีสถาปัตยกรรมปราสาทอยู่มากมายหลายปราสาทแต่ปราสาทที่เป็นไฮไลท์และควรที่จะไปให้ได้เลยก็คือ
นครวัด (Angkor Wat) เมื่อเอ่ยถึงชื่อนครวัดนั้นคงไม่มีใครไม่รู้จักและไม่คุ้นหูเพราะนอกจากจะเป็นปราสาทที่คนกัมพูชาให้ความเคารพและนับถือถึงกับให้มีรูปปราสาทนครวัดเป็นสัญลักษณ์อยู่บนธงชาติกัมพูชาแล้วนั้นปราสาทนครวัดนี้ยังถูกองค์กรยูเนสโกจัดให้เป็นเป็น
1 ใน 7
สิ่งมหัศจรรย์ของโลกและต้องมาชมความงดงามของปราสาทให้ได้สักครั้งก่อนตายให้ได้!และทางผู้เขียนเองได้มีโอกาสเดินทางไปเยือนประเทศกัมพูชาและนครวัดมาแล้วจึงอยากจะเขียนเรื่องราวและแชร์สิ่งที่ได้รับรู้เมื่อเดินทางไปยังปราสาทนครวัดแห่งให้กับผู้ที่มีความสนใจในนครวัดได้รู้ก่อนจะเดินทางไปเที่ยวชมความสวยงามของจักรวรรดิขอมที่ถูกสรรค์สร้างด้วยฝีมือของมนุษย์เมื่อ
1000
ปีก่อนที่ทิ้งเป็นมรดกให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสวยงามของสถาปัตยกรรมนี้ว่าถูกสร้างมาเพื่อสิ่งใดและรูปแบบการสร้างเป็นแบบใด
มาเริ่มกันเลย…Let’s go!
ภาพโดย อาจารย์เวียงคำ ชวนอุดม |
ภาพโดย ประดับเพชร นาคทอง |
ภาพโดย อาจารย์เวียงคำ ชวนอุดม ปราสาทนครวัด (Angkor Wat) ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตั้งอยู่ที่จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศประเทศกัมพูชา เป็นเทวสถานที่ใหญ่ที่สุดและสวยที่สุดในกัมพูชาและในโลกถูกสร้างด้วยพลังศรัทธาในศาสนาฮินดูโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระองค์ทรงโปรดให้สร้างขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่และงดงามที่สุด แต่อีกจุดประสงค์ที่สำคัญคือเป็นสุสานหลวงเก็บพระศพ โดยแนวคิดนี้ถูกอ้างอิงโดยนักวิชาการว่าเพราะการวางทิศประธานของปราสาทนครวัดแตกต่างจากปราสาทตัวอื่นตรงที่หันไปทางทิศตะวันตกแทนที่จะหันไปทางทิศตะวันออกทำให้นักวิชาการสรุปได้ว่า พระเจ้าสุริยวรมันประสงค์ให้สร้างเพื่อเป็นสถานที่เก็บศพของพระองค์ นอกจากการวางทิศของประธานที่แตกต่างแล้วมีสิ่งอื่นที่มาสนับสนุนแนวคิดนี้ก็คือ ภาพสลักนูนต่ำที่เรียงลำดับเรื่องราวในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาซึ่งต่างจากเทวสถานทั่วไปของศาสนาฮินดูอีกทั้งพิธีกรรมต่างๆของพราหมณ์ในพิธีพระบรมศพยังจัดขึ้นแบบย้อนหลังอีกด้วย
ภาพโดย อาจารย์เวียงคำ ชวนอุดม
รูปแบบการสร้างนครวัดนั้นเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรคลาสสิคที่สำคัญที่สุดซึ่งเรียกรูปแบบความคลาสสิคที่ว่านี้คือ "ศิลปะนครวัด" ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 นั้นสถาปนิกเขมรมีทักษะและความสามารถในการใช้หินทรายมาเป็นวัสดุโครงสร้างหลักของอาคารจากเดิมที่ใช้อิฐและศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างและในส่วนของปราสาทที่มองเห็นได้นั้นมาจากหินทรายที่มีการตัดเป็นบล็อกในขณะที่กำแพงภายนอกและภายในทำจากหินศิลาแลงแต่ใช้บล็อกหินทรายปิดไว้ภายนอกแต่ยังไม่มีการชี้ชัดว่าสิ่งที่ทำให้หินแต่ละก้อนเชื่อมกันนั้นคืออะไรแม้จะมีการเสนอว่าเป็นยางไม้และน้ำปูนใสมาโดยตลอดก็ตาม
ภาพโดย ประดับเพชร นาคทอง
ถาพโดย ประดับเพชร นาคทอง
ภาพโดย ประดับเพชร นาคทอง
ภาพโดย ประดับเพชร นาคทอง
ภาพโดย ประดับเพชร นาคทอง
ภาพโดย ประดับเพชร นาคทอง
ภาพโดย ประดับเพชร นาคทอง
ภาพโดย ประดับเพชร นาคทอง
สำหรับรายละเอียดความรู้และรูปภาพสวยๆที่นำมาฝากทุกคนเกี่ยวกับตัวปราสาทนครวัดที่ทางผู้เขียนได้เสนอไปนั้นก็เป็นข้อมูลดีๆที่ควรรู้ก่อนเดินทางไปเยี่ยมชมนครวัด แต่สำหรับสิ่งที่ควรรู้นอกเหนือจากประวัตินครวัดวัดแล้วนั้นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรรู้คือควรแต่งกายให้ถูกระเบียบและเตรียมอุปกรณ์กันแดดต่างๆเพราะอากาศค่อนข้างร้อนและสุดท้ายที่สำคัญมากๆไม่ว่าเราจะไปที่สำคัญของประเทศไหนในโลกก็ควรให้เกียรติสถานที่นั้นๆทำตามกฎระเบียบของคนในพื้นทิ้งท้ายก่อนจากกันในบล็อกนี้
นครวัดยังมีความลึกลับอะไรอีกมากมายที่ยังรอให้ทุกคนไปสัมผัสหาช่วงเวลาดีๆและออกไปเปิดโลกกว้างหาประสบการณ์ในชีวิตที่ยอดเยี่ยมครั้งหนึ่งกับ
นครวัดค่ะ^^
อ้างอิง
Coedès, George (1968). Walter F. Vella, ed. The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. p. 162. ISBN 978-0-8248-0368-1.
นครวัดแหล่งท่องเที่ยวอาเซียน1ใน7สิ่งมหัศจรรย์ของโลก.(2559).สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561.www.gothaialndgoasean.tourismthaialnd.org
นครวัด.(2561).สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561.http://thwikipedia.org
|